ประเภทของผู้ตรวจสอบบัญชีมีอะไรบ้าง

0 Comments

หากจะพูดถึงผู้ตรวจสอบบัญชีหลายคนอาจคิดว่ามีหน้าที่เพียงแค่การตรวจสอบงบการเงินประจำปี ซึ่งต้องขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสภาวิชาชีพบัญชี แต่จริง ๆ แล้วมีหน้าที่อื่นที่ต้องทำด้วย แต่จะมีอะไรบ้างและแบ่งออกเป็นกี่ประเภท เราจะพาไปทำความเข้าใจให้มากขึ้น 

ประเภทของผู้ตรวจสอบบัญชีมีอะไรบ้าง 

ส่วนผู้ตรวจสอบบัญชีออกเป็น 4 ประเภทดังนี้ 

1. External Auditor ผู้ตรวจบัญชีภายนอก 

  • ทำหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีและรับรองงบการเงินของบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  
  • ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2547 

2. Internal Auditor ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบภายใน 

ต้องเป็นพนักงานในองค์กรหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายบริหารโดยมีหน้าที่ ดังนี้ 

  • ตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายในองค์กร  
  • ประเมินประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยง  
  • ควบคุมและกำกับดูแลกิจการอย่างเป็นระบบ 

3. Tax Auditor ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร 

ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเข้าตรวจสอบงบการเงิน ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้าน สินทรัพย์และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้าน หน้าที่หลักมีดังนี้ 

  • ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร 
  • ตรวจสอบบัญชีและการรับรองงบการเงิน 

4. List of Auditors Approve by the Office of SEC 

บุคคลผู้มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยมีหน้าที่หลัก ดังนี้ 

  • มีหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีและรองรับงบการเงิน ในบริษัทที่อยู่ในตลาดทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือบริษัทยื่นขอจดทะเบียนในตลาดทุน  

หน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชี 

สรุปได้ว่างานหลักของผู้ตรวจสอบบัญชีมี 2 หน้าที่หลัก ดังนี้ 

  • ตรวจสอบบัญชีทั่วไปทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีและรับรองการเงินสำหรับกิจการนิติส่วนบุคคล โดยกระบวนการต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และมีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ 
  • ผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร ทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินว่าตรงตามสมุดบัญชีหรือไม่ พร้อมทั้งตรวจสอบว่ากิจการได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงความเคลื่อนไหวกำไรขาดทุนหรือไม่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเสียภาษี 

เห็นหรือไม่ว่าผู้ตรวจสอบบัญชีนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ประเภทเดียว แต่ยังมีหน้าที่อื่น ๆ ที่มีความใกล้เคียงกัน แต่แตกต่างกันที่กลุ่มงานหรือขนาดองค์กรที่ต้องรับผิดชอบ โดยที่บุคลากรทุกคนต้องได้รับใบอนุญาตหรือใบรับรอง เช่น กรมพัฒนาการค้า สภาวิชาชีพบัญชี เพื่อการันตีว่าการปฏิบัติหน้าที่จะออกมามีประสิทธิภาพ ทั้งการจัดการงบการเงินและการเสียภาษี แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนล้วนเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการจัดการงบประมาณให้เป็นไปตามมาตรฐานและประหยัดเวลาในการดำเนินการด้วยตัวเอง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ ใช้สำหรับวางแผนพัฒนาธุรกิจให้เติบโตตามความเหมาะสม 

Related Posts

พลังงานหมุนเวียน

พลังงานหมุนเวียน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง มาทำความเข้าใจกัน

0 Comments

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นต่อเนื่องซ้ำ ๆ แบบไม่มีวันหมดไป และสามารถใช้ได้แบบไม่จำกัด โดยพลังงานที่ได้มาจะมาจากแหล่งพลังงานตามธรรมชาติ เพราะแบบนี้เองที่ทำให้พลังงานชนิดนี้มีความสำคัญ และเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่ในปัจจุบันนี้…

โบรกเกอร์ฟอเร็ก

โบรกเกอร์ฟอเร็กที่ดีเป็นยังไง

0 Comments

แน่นอนว่าหากคุณต้องการเทรด forex จำเป็นต้องมีโบรกเกอร์ แต่ต้องมั่นใจและตอบโจทย์ความต้องการและดีอย่างที่มีการกล่าวอ้างจริง หากไม่แน่ใจเราจะพาคุณไปดูว่าจริง ๆ แล้วโบรกเกอร์ฟอเร็กที่ดีเป็นยังไง  โบรกเกอร์ฟอเร็กที่ดีเป็นยังไง  สิ่งที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นโบรกเกอร์ฟอเร็กที่ดีมีอยู่ด้วยกันหลายประการ ได้แก่ …

thai seo

thai seo: บริการทำ SEO ในไทยเลือกอย่างไรไว้ใจ้ได้แน่นอน

0 Comments

บริษัทรับทำ SEO เป็นอีกหนึ่งบริษัทหรือบริการที่หลายๆ ธุรกิจหรือผู้ประกอบการต้องการใช้บริการเพราะการการทำ SEO นอกจากจะเพิ่มยอดการขายหรือการค้นหาแบบ organic แล้วยังมีความยั่งยืนคือธุรกิจยังมีการเติบโตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนนั่นเอง ทั้งนี้มันก็มีหลากหลายหลักการสำหรับการเลือกใช้บริการ thai…